ค้นหาบล็อก

วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

คู่มือในการสอบO-NETม.6

http://www.niets.or.th/upload-files/uploadfile/7/2dc7d99281eab25c1bb7781c372d0ebb.pdf

GPAX

EZ (EZY ADMISSION) โปรแกรมช่วย ADMISSION
EZ-GPAX คำนวณผลการเรียนเฉลี่ย(GPAX)
  GPAX คือเกรดเฉลี่ยจากผลการเรียนตลอดหกเทอม (มอสี่ถึงมอหก) ของนักเรียนทางโรงเรียนจะจัดส่ง GPAX ของนักเรียนทุกคนไปยัง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา นักเรียนจึงควรตรวจสอบค่า GPAX ของตนเองและถ้ามีข้อผิดพลาดจะได้ขอให้ทางโรงเรียนแก้ไข ก่อนที่จะมีการจัดส่ง
   การตรวจสอบค่า GPAX โดยกรอก จำนวนหน่วยกิต(นก.)และเกรดที่ได้ลงในตารางข้างล่างนี้ สำหรับนักเรียนที่ยังได้ผลเกรดไม่ครบหกเทอม สามารถใช้ตารางนี้ประมาณเกรดเฉลี่ย (GPAX) ได้โดยประมาณเกรดที่ยังได้รับลงไปให้ครบ

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การสอบตรง

การเตรียมความพร้อมและเทคนิคในการสอบตรง

การเตรียมความพร้อมและเทคนิคในการสอบตรง
                การสอบตรงในปัจจุบันประกอบด้วย รูปแบบหลัก
แบบที่  ผ่านคุณสมบัติ  -> สอบข้อเขียน -> สอบสัมภาษณ์ ดู Portfolio
แบบที่  ผ่านคุณสมบัติ  -> สอบข้อเขียน + O-NET,A-NET -> สอบสัมภาษณ์ ดู Portfolio
แบบที่  ผ่านคุณสมบัติ  -> สอบสัมภาษณ์ ดู Portfolio
คุณสมบัติ              
ในการสอบตรง มหาวิทยาลัยจะพิจารณานักเรียนที่มีคุณสมบัติและความสามารถตรงกับความต้องการของคณะ/สาขา เพื่อที่นักเรียนจะสามารถประสบความสำเร็จในการเรียนและการทำงานต่อไป
การสอบข้อเขียน
                ข้อสอบในการสอบตรงของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้น จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่าโครงการนั้นต้องการนักเรียนที่มีความสามารถด้านใด เช่น สอบตรงนิติ มธต้องการนักเรียนที่มีความสนใจด้านกฎหมายและมีความสามารถในการจับใจความ ข้อสอบก็จะออกเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายเบื้องต้นและการเขียนเรียงความ ย่อความ ดังนั้นนักเรียนที่จะเตรียมพร้อมกับการสอบตรง โดยหาข้อมูลเกี่ยวกับคณะ/สาขานั้น ว่าต้องการนักเรียนที่มีความสามารถด้านใดบ้าง และศึกษาแนวข้อสอบตรงของคณะ/สาขานั้นๆ  เพื่อจะได้เตรียมพร้อมก่อนการสอบ
การสอบสัมภาษณ์
                การสอบสัมภาษณ์มีส่วนสำคัญอย่างมากในการคัดเลือก นักเรียนที่ผ่านคุณสมบัติและผ่านการสอบข้อเขียน จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการสอบสัมภาษณ์ โดยส่วนมากจะเป็นเป็นลักษณะการสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการ และการสอบสัมภาษณ์เพื่อประเมินความพร้อมและความสนใจในคณะ/สาขา มหาวิทยาลัยนั้นๆ
                การสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการ จะเป็นการถามตอบเชิงวิชาการ ลักษณะข้อสอบเหมือนกับข้อสอบอัตนัย  โดยข้อสอบจะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องที่เป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ยกตัวอย่าง การสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการของคณะ/สาขาด้านคอมพิวเตอร์ ช่วยอธิบายความหมายคำว่า OS ให้ฟังหน่อยซิครับ” หรือ การสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการของคณะ/สาขาด้านภูมิศาสตร์ พายุไซโคลน หมายถึงอะไร” การสอบแบบนี้นักเรียนที่มีความชอบและถนัดในด้านนั้นอยู่แล้วจะสามารถสอบผ่านได้โดยไม่ยาก นักเรียนจะต้องเตรียมพร้อมโดยศึกษารายละเอียดรายวิชาที่ต้องเรียนของคณะ/สาขานั้น และศึกษาเนื้อหาล่วงหน้าในเรื่องที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ ก็จะช่วยให้มีนักเรียนความมั่นใจและสามารถตอบคำถามได้
การสอบสัมภาษณ์เพื่อประเมินความพร้อมและความสนใจ  จะเป็นการสอบเพื่อวัดความพร้อมและความสนใจของนักเรียน ว่ามีความสนใจที่จะเข้าเรียนมากน้อยเพียงใด  คำถามที่มักจะพบบ่อยเช่น  วันนี้คุณมาทำอะไร?”  ทราบหรือไม่ว่าคณะนี้เรียนเกี่ยวกับอะไร?” หรือ คำถามที่เกี่ยวกับสาขานั้น เช่น สังคมสงเคราะห์ในคำคิดของคุณหมายความว่าอย่างไร” เป็นคำถามที่ไม่ยากแต่จะต้องเตรียมตัว โดยศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับคณะ/สาขานั้น ก่อนที่จะสอบสัมภาษณ์
Portfolio
                อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญและนักเรียนจะต้องเตรียมไปในวันสอบสัมภาษณ์คือ แฟ้มสะสมผลงาน หรือ Portfolio ซึ่งจะเป็นส่วนจะช่วยให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกได้ง่ายยิ่งขึ้น  Portfolio ที่ดีจะต้องบ่งบอกความเป็นตัวของตัวเอง คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ” ไม่จำเป็นต้องนำผลงานทุกอย่างลงในแฟ้ม แต่จะต้องเป็นผลงานที่เกี่ยวข้องกับคณะ/สาขา ที่เรากำลังจะไปสัมภาษณ์จึงจะดีที่สุด