ค้นหาบล็อก

วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

คู่มือในการสอบO-NETม.6

http://www.niets.or.th/upload-files/uploadfile/7/2dc7d99281eab25c1bb7781c372d0ebb.pdf

GPAX

EZ (EZY ADMISSION) โปรแกรมช่วย ADMISSION
EZ-GPAX คำนวณผลการเรียนเฉลี่ย(GPAX)
  GPAX คือเกรดเฉลี่ยจากผลการเรียนตลอดหกเทอม (มอสี่ถึงมอหก) ของนักเรียนทางโรงเรียนจะจัดส่ง GPAX ของนักเรียนทุกคนไปยัง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา นักเรียนจึงควรตรวจสอบค่า GPAX ของตนเองและถ้ามีข้อผิดพลาดจะได้ขอให้ทางโรงเรียนแก้ไข ก่อนที่จะมีการจัดส่ง
   การตรวจสอบค่า GPAX โดยกรอก จำนวนหน่วยกิต(นก.)และเกรดที่ได้ลงในตารางข้างล่างนี้ สำหรับนักเรียนที่ยังได้ผลเกรดไม่ครบหกเทอม สามารถใช้ตารางนี้ประมาณเกรดเฉลี่ย (GPAX) ได้โดยประมาณเกรดที่ยังได้รับลงไปให้ครบ

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การสอบตรง

การเตรียมความพร้อมและเทคนิคในการสอบตรง

การเตรียมความพร้อมและเทคนิคในการสอบตรง
                การสอบตรงในปัจจุบันประกอบด้วย รูปแบบหลัก
แบบที่  ผ่านคุณสมบัติ  -> สอบข้อเขียน -> สอบสัมภาษณ์ ดู Portfolio
แบบที่  ผ่านคุณสมบัติ  -> สอบข้อเขียน + O-NET,A-NET -> สอบสัมภาษณ์ ดู Portfolio
แบบที่  ผ่านคุณสมบัติ  -> สอบสัมภาษณ์ ดู Portfolio
คุณสมบัติ              
ในการสอบตรง มหาวิทยาลัยจะพิจารณานักเรียนที่มีคุณสมบัติและความสามารถตรงกับความต้องการของคณะ/สาขา เพื่อที่นักเรียนจะสามารถประสบความสำเร็จในการเรียนและการทำงานต่อไป
การสอบข้อเขียน
                ข้อสอบในการสอบตรงของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้น จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่าโครงการนั้นต้องการนักเรียนที่มีความสามารถด้านใด เช่น สอบตรงนิติ มธต้องการนักเรียนที่มีความสนใจด้านกฎหมายและมีความสามารถในการจับใจความ ข้อสอบก็จะออกเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายเบื้องต้นและการเขียนเรียงความ ย่อความ ดังนั้นนักเรียนที่จะเตรียมพร้อมกับการสอบตรง โดยหาข้อมูลเกี่ยวกับคณะ/สาขานั้น ว่าต้องการนักเรียนที่มีความสามารถด้านใดบ้าง และศึกษาแนวข้อสอบตรงของคณะ/สาขานั้นๆ  เพื่อจะได้เตรียมพร้อมก่อนการสอบ
การสอบสัมภาษณ์
                การสอบสัมภาษณ์มีส่วนสำคัญอย่างมากในการคัดเลือก นักเรียนที่ผ่านคุณสมบัติและผ่านการสอบข้อเขียน จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการสอบสัมภาษณ์ โดยส่วนมากจะเป็นเป็นลักษณะการสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการ และการสอบสัมภาษณ์เพื่อประเมินความพร้อมและความสนใจในคณะ/สาขา มหาวิทยาลัยนั้นๆ
                การสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการ จะเป็นการถามตอบเชิงวิชาการ ลักษณะข้อสอบเหมือนกับข้อสอบอัตนัย  โดยข้อสอบจะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องที่เป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ยกตัวอย่าง การสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการของคณะ/สาขาด้านคอมพิวเตอร์ ช่วยอธิบายความหมายคำว่า OS ให้ฟังหน่อยซิครับ” หรือ การสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการของคณะ/สาขาด้านภูมิศาสตร์ พายุไซโคลน หมายถึงอะไร” การสอบแบบนี้นักเรียนที่มีความชอบและถนัดในด้านนั้นอยู่แล้วจะสามารถสอบผ่านได้โดยไม่ยาก นักเรียนจะต้องเตรียมพร้อมโดยศึกษารายละเอียดรายวิชาที่ต้องเรียนของคณะ/สาขานั้น และศึกษาเนื้อหาล่วงหน้าในเรื่องที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ ก็จะช่วยให้มีนักเรียนความมั่นใจและสามารถตอบคำถามได้
การสอบสัมภาษณ์เพื่อประเมินความพร้อมและความสนใจ  จะเป็นการสอบเพื่อวัดความพร้อมและความสนใจของนักเรียน ว่ามีความสนใจที่จะเข้าเรียนมากน้อยเพียงใด  คำถามที่มักจะพบบ่อยเช่น  วันนี้คุณมาทำอะไร?”  ทราบหรือไม่ว่าคณะนี้เรียนเกี่ยวกับอะไร?” หรือ คำถามที่เกี่ยวกับสาขานั้น เช่น สังคมสงเคราะห์ในคำคิดของคุณหมายความว่าอย่างไร” เป็นคำถามที่ไม่ยากแต่จะต้องเตรียมตัว โดยศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับคณะ/สาขานั้น ก่อนที่จะสอบสัมภาษณ์
Portfolio
                อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญและนักเรียนจะต้องเตรียมไปในวันสอบสัมภาษณ์คือ แฟ้มสะสมผลงาน หรือ Portfolio ซึ่งจะเป็นส่วนจะช่วยให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกได้ง่ายยิ่งขึ้น  Portfolio ที่ดีจะต้องบ่งบอกความเป็นตัวของตัวเอง คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ” ไม่จำเป็นต้องนำผลงานทุกอย่างลงในแฟ้ม แต่จะต้องเป็นผลงานที่เกี่ยวข้องกับคณะ/สาขา ที่เรากำลังจะไปสัมภาษณ์จึงจะดีที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

GAT PAT

มาทำความรู้จัก GAT PAT ให้ดียิ่งขึ้น

GAT PAT คืออะไร จะเตรียมตัวอย่างไรเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย ปี 2553

GAT PAT ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย ปี 2553
เนื่องจากสำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยถึงการจัดสอบความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test หรือ GAT) และความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ (Professional A Aptitude Test หรือ PAT) พื่อใช้เป็นคะแนนในการนำไปสอบระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือแอดมิชชั่นส์กลางว่า ตามที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติว่าการสอบแอดมิชชั่นส์ปี 2553 นั้นจะใช้สัดส่วนคะแนนดังนี้
1. ปี 2553 ทปอ. จะใช้องค์ประกอบต่อไปนี้ในการยื่น คะแนนเข้ามหาวิทยาลัย
1) GPAX 6 ภาคเรียน 20 %
2) O-NET (8 กลุ่มสาระ) 30 %
3) GAT 10-50 %
4) PAT 0-40 %
รวม 100 %
หมายเหตุ
1. GPAX คือ ผลการเรียนเฉลี่ย สะสม ภาคเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียน รู้
2. GAT คือ General Aptitude Test ความถนัดทั่วไป
3. PAT คือ Professional Aptitude Test ความถนัดเฉพาะ วิชาชีพ
2.รายละเอียดเกี่ยว กับ GAT
1. เนื้อหา
การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ ปัญหา(ทาง คณิตศาสตร์) 50%
การสื่อสารด้วยภาษา อังกฤษ 50%
2. ลักษณะข้อสอบ GAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย
คะแนนเต็ม 200 คะแนน เวลาสอบ ชั่วโมง
ข้อสอบ เน้น Content Free และ Fair
เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
มีการออกข้อสอบเก็บไว้เป็นคลังข้อ สอบ
3. จัดสอบปีละหลายครั้ง
คะแนนใช้ได้ ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด (จะสอบ ตั้งแต่ม. ก็ได้)
3. รายละเอียดเกี่ยว กับ PAT
1. PAT มี ชุด คือ
PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์
เนื้อหา เช่น Algebra, Probability and Statistics, Conversion,Geometry, Trigonometry,Calculus ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Calculation skills, Quantitative Reasoning, Math Reading Skills
PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์
เนื้อหา ชีววิทยาเคมีฟิสิกส์, Earth Sciences, environment, ICT ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Sciences Reading Ability,Science Problem Solving Ability ฯลฯ
PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรม ศาสตร์
เนื้อหา เช่น Engineering Mathematics, EngineeringSciences,Life Sciences, IT ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Engineering Aptitude i.e. Multidimensional Perceptual Ability, Calculation Skills, Engineering Reading Ability, Engineering Problem Solving Ability
PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
เนื้อหา เช่น Architectural Math and Science ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Space Relations, Multidimensional Perceptual Ability, Architectural Problem Solving Ability ฯลฯ
PAT 5 วัดศักยภาพทาง ครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์
เนื้อหา ความรู้ในเนื้อหาภาษา ไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม วิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ ครุ ศึกษา (Pedagogy), ทักษะการอ่าน (Reading Skills),ความรู้ทั่วไปเกี่ยว กับการศึกษาของประเทศไทย การแก้ปัญหาที่เกิดจากนัก เรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ
PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์
เนื้อหา เช่น ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) ความรู้ทั่วไปทาง ศิลป์ ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ ความคิดสร้าง สรรค์ ฯลฯ
"อย่างไรก็ตาม มีข้อเรียกร้องจากสมาคมฝรั่งเศสที่เสนอขอให้ ทปอ.จัดสอบเรื่องภาษาที่ ด้วย ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน จีน และญี่ปุ่น เพื่อเป็นการวัดคุณภาพของเด็ก โดยจะขอให้เพิ่มเป็น PAT 7 และย่อยลงไปเป็น 7.1 , 7.2 ตามลำดับ แต่ ทปอ.เสนอว่าให้ทางสมาคมจัดสอบล่วงหน้าก่อนได้และให้กำหนดในเงื่อนไขแอดมิชชั่นว่าผู้ที่จะสอบในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษาเหล่านี้จะต้องผ่านการสอนวัดความรู้ด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีการมาเพิ่มเป็น PAT 7สทศ.ก็ต้องมาทำการทบทวน PAT ทั้ง ใหม่ ซึ่งก็จะยุ่งยากอีก"ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวและว่า สำหรับข้อสอบ PAT นั้นได้เชิญอาจารย์ทีเชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาเป็นผู้ออกข้อสอบ โดย สทศ.จะอธิบายความต้องการ วัตถุประสงค์การออกให้ทราบ และเมื่ออาจารย์ออกข้อสอบเสร็จแล้วก้จะนำเข้าคลังข้อสอบในรอบแรกก่อนนำมาเข้ากระบวนการกลั่นกรองเพื่อเข้าคลังข้อสอบของ สทศ. ใหม่อีกครั้ง
2. ลักษณะข้อสอบ PAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย
คะแนนเต็มชุดละ 200 คะแนน เวลาสอบชุดละ ชั่วโมง
เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
มีการออกข้อสอบเก็บไว้ในคลังข้อ สอบ
3. จัดสอบเมื่อนักเรียนอยู่ชั้น ม.โดยจัดสอบปีละ ครั้ง
คะแนนใช้ได้ ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่ สุด
ขณะนี้ ทปอ.ได้มอบหมายให้ สทศ.เป็นผู้จัดสอบ GAT และ PAT ซึ่งในส่วนของ GAT มีการทดลองรูปแบบการสอบแล้ว โดยจะใช้การสอบทั้งแบบปรนัยและอัตนัย ใช้เวลา ชั่วโมง 300คะแนน โดยนักเรียนสามารถสอบได้ 2-3 ครั้ง และเลือกคะแนนสอบครั้งที่ดีที่สุดไปใช้ โดยคะแนนจะเก็บไว้ได้ ปี แต่เด็กต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสอบเอง ซึ่งคาดว่าจะเริ่มสอบได้ประมาณเดือนตุลาคม 2551 หรืออาจต้นปี 2552 เพื่อให้ใช้ทันแอดมิชชั่นปี 2553
สทศ.ต้องเตรียมเรื่องการออกข้อสอบ โดยได้ขอความร่วมมือจากอาจารย์มหาวิทยาลัยมาช่วยออกข้อสอบให้ นอกจากนี้ สทศ. ยังจะจัดสอบ B-NET ซึ่งเป็นแบบทดสอบความรู้ ภาคเรียนของ ม.ปลาย เพื่อให้มหาวิทยาลัยนำไปใช้ในการรับตรง ซึ่งการที่ สทศ. ต้องจัดสอบ B-NET เพราะไม่ต้องการให้เด็กวิ่งรอกสอบหลายที่ ผอ.สทศ. กล่าว.
ที่มา : เดลินิวส์ สยามรัฐ

วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 15 : การตอบสนองของพืช

การตอบสนองของพืช

1.
การตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งเร้าทำให้พืชเกิดการเคลื่อนไหวซึ่งเกิดจาก                           

    1. การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการเจริญเติบโต (growth movement) เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ เนื่องจากฮอร์โมนพืช เช่น  การเจริญเติบโตของปลายราก 
    ปลายยอดพืช การบาน การหุบของดอกไม้ การพันหลักของไม้เลื้อย ฯลฯ การเคลื่อนไหวของพืชที่มีต่อสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต แบ่งออกเป็น
การเคลื่อนไหวเนื่องจากสิ่งเร้าภายนอก (stimulus movement)
1. การเคลื่อนไหวที่มีทิศทางสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า (tropic movement) ถ้าเคลื่อนไหวเข้าหาสิ่งเร้า จัดเป็น positive tropism 
ถ้าเคลื่อนไหวหนีออกจากสิ่งเร้า จัดเป็น negative tropism ได้แก่

                      1.1 การเคลื่อนไหวโดยมีแรงโน้มถ่วงของโลกเป็นสิ่งเร้า (gravitropism หรือ geotropism) แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
- positive gravitropism เช่น รากพืชจะเจริญเข้าหาแรงโน้มถ่วงของโลก 
- negative gravitropism เช่นยอดพืชจะเจริญในทิศทางตรงกันข้ามกับแรงโน้มถ่วงของโลก 

แผนภาพแสดงการเคลื่อนไหวของปลายรากเข้าหาแรงโน้มถ่วงของโลก
และปลายยอดหนีแรงโน้มถ่วงของโลก

1.2 การเคลื่อนไหวโดยมีแสงเป็นสิ่งเร้า (phototropism) แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
- positive phototropism เช่น ยอดพืชเอนเข้าหาแสงสว่าง
- negative phototropism เช่น รากพืชเจริญหนีแสงสว่าง 
การตอบสนองต่อแสงแรงโน้มถ่วงของโลก
1.3 การเคลื่อนไหวโดยมีสารเคมีเป็นสิ่งเร้า (chemotropism) เช่น การงอกของหลอดละอองเรณูไปยังรังไข่ของพืชมีดอก


1.4 การเคลื่อนไหวโดยตอบสนองต่อการสัมผัส (thigmotropism) เช่น มือเกาะ (tendril) ยื่นออกไปจากลำต้น ไปยึดสิ่งที่สัมผัสหรือต้นไม้อื่นหรือหลัก เพื่อเป็นการพยุงลำต้น เช่น ตำลึง กระทกรก องุ่น พืชตระกูลแตง เป็นต้น

มือเกาะของตำลึง
มือเกาะของกระทกรก
     1.5 การเคลื่อนไหวโดยมีน้ำเป็นสิ่งเร้า (hydrotropism) เช่น รากของพืชจะเจริญเข้าหาน้ำหรือความชื้นเสมอ
2. การเคลื่อนไหวของพืชโดยมีทิศทางไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า (nasty หรือ nastic movement) ได้แก่
     2.1 photonasty เป็นการตอบสนองที่เกิดจากการกระตุ้นของแสง เช่น
- การหุบและบานของดอกไม้ เกิดจากการกระตุ้นของแสงหรืออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป 
- ดอกบัวส่วนมากจะหุบในตอนกลางคืน จะบานในตอนกลางวัน 
- ดอกกระบองเพชรส่วนมากจะบานในตอนกลางคืนและหุบในตอนกลางวัน
การบานและหุบของดอกไม้ เกิดเนื่องจากกลุ่มเซลล์ทางด้านนอกและด้านในขยายขนาดไม่เท่ากัน ดอกไม้จะบานเมื่อกลุ่มเซลล์ทางด้านใน ของกลีบดอก ขยายขนาดมากกว่าด้านนอก ส่วนการที่ดอกไม้หุบลงเพราะกลุ่มเซลล์ทางด้านนอกขยายขนาดมากกว่าด้านใน 

การหุบ-บานของดอกไม้

2.2 thermonasty เป็นการตอบสนองที่เกิดจากการกระตุ้นของอุณหภูมิ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวได้ เช่น การบานของดอกบัวสวรรค์ หัวบัวจีน ทิวลิป เมื่อได้รับอุณหภูมิสูง
การเคลื่อนไหวเนื่องจากสิ่งเร้าภายในของพืชเอง
(autonomic movement) 

        การเคลื่อนไหวเนื่องจากสิ่งเร้าภายในของพืชเอง แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1. nutation movement เป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดเฉพาะที่ยอดของพืชบางชนิด เช่น ถั่ว ทำให้ปลายยอดเอนหรือแกว่งไปมา ในขณะที่พืช เจริญเติบโตทีละน้อยเนื่องจากกลุ่มเซลล์ 2 ด้านของลำต้นเจริญเติบโตไม่เท่ากัน
2. spiral movement เป็นการเคลื่อนไหวที่ปลายยอดบิดเป็นเกลียว เมื่อพืชเจริญเติบโตขึ้นทำให้ลำต้นบิดเป็นเกลียวพันรอบแกน หรือพันอ้อมหลักขึ้นไปเป็นการพยุงลำต้นไว้ เช่น การพันหลักของต้นมะลิวัลย์ ต้นลัดดาวัลย์ ต้นพริกไทย ต้นพลู เป็นต้น

การพันหลักของถั่วฝักยาว
การพันหลักของอัญชัน
2. การเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับแรงดันเต่ง (turgor movement) เซลล์พืชดูดน้ำเข้าไป เซลล์จะเต่งขึ้น เพราะเกิดแรงดันเต่ง ทำให้พืชกางใบออกได้เต็มที่ แต่ถ้าเสียน้ำไปใบจะเหี่ยวหรือเฉาลง การเคลื่อนไหวหรือการตอบสนองแบบนี้แบ่งออกเป็นcontact movement
                   เป็นการตอบสนองเนื่องจากการสัมผัส ปกติพืชจะตอบสนองต่อการสัมผัสได้ช้ามาก แต่มีพืชบางชนิดที่สามารถตอบสนอง ต่อการสัมผัสได้รวดเร็วแต่ไม่ถาวร เช่น การหุบ และกางของใบไมยราบ นอกจากนี้ใบไมยราบยังมีความไวต่อสิ่งเร้าสูงมาก เพียงใช้มือแตะเบา ๆ ที่ใบ ใบจะหุบเข้าหากันทันที การหุบของใบที่เกิดอย่างรวดเร็วเนื่องจากที่โคนก้านใบและโคนก้านใบย่อย มีกลุ่มเซลล์ พัลไวนัส (pulvinus) ซึ่งเป็นเซลล์ขนาดใหญ่และผนังบางมีความไวสูงต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น ทำให้ แรงดัน เต่ง ในเซลล์พัลไวนัสลดลงอย่างรวดเร็ว เซลล์จะสูญเสียน้ำให้แก่เซลล์ข้างเคียงใบจะหุบลงทันที หลังจากทิ้งไว้สักครู่หนึ่ง น้ำจากเซลล์ข้างเคียงจะแพร่เข้ามาในเซลล์พัลไวนัสใหม่ ทำให้แรงดันเต่งเพิ่มขึ้นและกางใบออกตามเดิม

เซลล์พัลไวนัสที่โคนก้านใบของไมยราบขณะกางใบและหุบใบ
พืชกินแมลง ได้แก่ ต้นกาบหอยแครง ต้นหยาดน้ำค้าง ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง จะมีกลุ่มเซลล์ที่ไวต่อการสัมผัสเช่นเดียวกับใบไมยราบ เมื่อแมลงบินมาเกาะก็จะตอบสนองโดยการหุบใบทันที พร้อมทั้งปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยแมลงเป็นอาหาร

การกินแมลงของต้นกาบหอยแครง 

sundew : พืชกินแมลง



ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง : พืชกินแมลง
sleep movement
เป็นการเคลื่อนไหวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงความเข้มของแสงหรือการนอนหลับของ พืชตระกูลถั่ว เช่น ก้ามปู กระถิน มะขาม จามจุรี ไมยราบ ผักกระเฉด แค ใบจะหุบในตอนเย็นหรือพลบค่ำที่เรียกว่าต้นไม้นอน และจะกางใบออกตอนรุ่งเช้าเมื่อมี แสงสว่าง การเคลื่อนไหวแบบนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงแรงดันเต่งของกลุ่มเซลล์พัลไวนัส ทางด้านบนและด้านล่างของโคนก้านใบย่อยเช่นเดียวกับต้นไมยราบเมื่อถูกสัมผัส


การนอนของใบพืชตระกูลถั่ว


 การนอนของใบ Maranta
guard cell movement
เป็นการเคลื่อนไหวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำภายในเซลล์คุม เช่น การเปิด-ปิดของปากใบ เนื่องจากน้ำแพร่เข้าไปในเซลล์คุม (guard cell) ทำให้แรงดันเต่งในเซลล์คุมเพิ่มขึ้น ดันให้เซลล์คุมพองออกหรือในทางตรงกันข้าม ถ้าเซลล์คุมสูญเสียน้ำไป แรงดันเต่งลดลง เซลล์คุมจะหดตัวทำให้ปากใบปิด การเคลื่อนไหวของเซลล์คุมจึงมีผลทำให้ปากใบของพืชปิดหรือเปิดได้

การเปิด-ปิดของปากใบ

2. 
การตอบสนองของพืชต่อสารควบคุมการเจริญเติบโต
สารควบคุมการเจริญเติบโต คือ ฮอร์โมนพืช (plant hormone) เป็นสารเคมีที่พืชสร้างขึ้น ในปริมาณที่น้อยมาก และลำเลียงไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ 
ของพืช เพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ฮอร์โมนเหล่านี้ ได้แก่
ออกซิน (auxin)

เป็นสารเคมีชื่อกรดอินโดลแอซีติก (indoleacetic acid : IAA) เป็นฮอร์โมนที่พืชสร้างจากกลุ่มเซลล์เนื้อเยื่อเจริญ ที่บริเวณยอดอ่อน แล้วแพร่จากยอดอ่อนไปยังเซลล์อื่น ๆ ที่อยู่ด้านล่าง โดยจะไปกระตุ้นเซลล์บริเวณเนื้อเยื่อที่มีการยืดตัวให้เจริญ ขยายขนาดขึ้น ทำให้พืชเติบโตสูงขึ้น การทำงานของออกซินขึ้นอยู่กับสิ่งเร้า เช่น แสง อุณหภูมิ แรงโน้มถ่วงของโลก สิ่งสัมผัสและอื่น ๆ
แสงมีผลต่อการแพร่กระจายของออกซินที่ยอดอ่อน โดยออกซินจะแพร่กระจายจากด้านที่มีแสงมากไปยังด้านที่มีแสงน้อย ทำให้ด้านที่มีแสงน้อยมีออกซินมากกว่า เซลล์เจริญขยายตัวมากกว่าด้านที่มีแสงมาก ปลายยอดจึงโค้งเข้าหาแสง ซึ่งให้ผลตรงข้าม กับที่ ปลายราก โดยออกซินยังคงเคลื่อนที่หนีแสง แต่เซลล์ที่ปลายรากตอบสนองต่อออกซินต่างจากเซลล์ที่ปลายยอด บริเวณใด ของราก ที่มีแสงน้อย จะมีออกซินสะสมมากจึงยับยั้งการเจริญของเซลล์ราก บริเวณที่มีแสงมากมีออกซินน้อยกว่า เซลล์รากขยายตัวมากกว่า จึงเกิดการโค้งตัวของปลายรากหนีแสง




การกระจายของฮอร์โมนออกซินเมื่อได้รับแสง

ออกซินมีผลในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของลำต้น ตา ใบ และราก ในระดับความเข้มข้นที่ต่างกัน ออกซินในระดับเข้มข้นสูงมาก ๆ จะยับยั้งการเจริญเติบโตทุกส่วนของพืช ออกซินในระดับความเข้มข้นที่พอเหมาะจะกระตุ้นการเจริญของลำต้น แต่จะมีผลในการยับยั้ง การเจริญเติบโตของตาและใบ ซึ่งต้องการความเข้มข้นต่ำกว่า ในขณะที่รากต้องการออกซินในปริมาณที่น้อยมาก ลำต้นจึงต้องการออกซิน สูงกว่าตาและใบ ในขณะที่ตาและใบต้องการออกซินสูงกว่าในราก ดังนั้นความเข้มข้นของออกซิน ที่พอเหมาะต่อการเจริญเติบโต ของอวัยวะหนึ่งแต่จะยับยั้งการเจริญเติบโตของอวัยวะหนึ่งได้
ผลของออกซินต่อพืช

1. กระตุ้นการแบ่งเซลล์ให้ขยายขนาดแทบทุกส่วน พืชจึงเจริญเติบโต เซลล์ขยายตัวออกทั้งความยาวและความกว้าง
2. ควบคุมการเจริญของตาด้านข้าง โดยตายอดสร้างออกซินในปริมาณสูง แล้วลำเลียงลงสู่ด้านล่าง ออกซินจะยับยั้ง การเจริญเติบโตของตาและใบด้านข้าง พืชจึงสูงขึ้นแต่ไม่เป็นพุ่ม แต่เมื่อตัดยอดออกความเข้มข้นของออกซินจะลดลง ทำให้ไม่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของตาด้านข้างและใบได้ พืชจึงแตกตาด้านข้างได้ทำให้ต้นพืชมีลักษณะเป็นพุ่มขึ้น
3. ออกซินในปริมาณที่พอเหมาะสามารถใช้กระตุ้นกิ่งตอนและกิ่งปักชำให้งอกรากได้
4. ควบคุมการเคลื่อนไหวของพืชแบบที่มีแสงเป็นสิ่งเร้า หรือมีแรงโน้มถ่วงของโลกเป็นสิ่งเร้า
5. ควบคุมการออกดอกของพืชบางชนิด เช่น สับปะรด มะม่วง ลิ้นจี่ ทำให้ออกดอกเร็วขึ้นและออกดอกพร้อมกัน ชักนำให้ ดอกตัวผู้เป็นดอกตัวเมียเพิ่มขึ้น
6. ช่วยชะลอการหลุดร่วงของใบ ดอก และผล
7. ควบคุมการเจริญเติบโตของผล เช่น แตงโม องุ่น มะเขือเทศ บวบ เมื่อพ่นด้วยออกซินในปริมาณที่พอเหมาะ จะทำให้รังไข่เจริญ เป็นผลได้ โดยไม่มีเมล็ด
8. ออกซินบางชนิดใช้เป็นยาปราบวัชพืชได้ จากการพบว่าออกซินนั้นหากมีปริมาณพอเหมาะจะมีผลในการกระตุ้นการเจริญเติบโต ของพืช แต่ถ้ามีปริมาณมากเกินไปกลับยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช จึงนำไปเป็นยาปราบวัชพืช





ออกซินยับยั้งการเจริญของตาด้านข้าง
จิบเบอเรลลิน (gibberellin)
เป็นฮอร์โมนพืชที่มีสมบัติในการกระตุ้นการเจริญของเซลล์บริเวณข้อทำให้ ต้นไม้สูง ถ้าพืชขาดฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน จะทำให้ลำต้นเตี้ยแคระ ในทางการค้าจึงมีผู้สังเคราะห์สารยับยั้งการสร้างจิบเบอเรลลินของพืช ทำให้พืชนั้นแคระแกร็น เพื่อใช้เป็นไม้ประดับ


อิทธิพลของจิบเบอเรลลินต่อความสูงของลำต้น
ผลของจิบเบอเรลลินต่อพืช
1. กระตุ้นการเจริญของเซลล์ตรงข้อทำให้ต้นไม้สูง
2. กระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิด เช่น ผักกาดหอม กะหล่ำปลี
3. กระตุ้นการงอกของเมล็ดและตา
4. เปลี่ยนดอกตัวผู้ให้เป็นดอกตัวเมียของพืชตระกูลแตง
5. ช่วยยืดช่อผลขององุ่น ทำให้ช่อใหญ่ ลูกองุ่นไม่เบียดกันมาก


เปรียบเทียบการได้รับจิบเบอเรลลินของต้นพืช
(ต้นสูง ได้รับจิบเบอเรลลิน ต้นเตี้ย ไม่ได้รับจิบเบอเรลลิน)

 ไซโทไคนิน (cytokinin)

เป็นฮอร์โมนพืชที่พบมากบริเวณปลายราก เอ็มบริโอ ผลอ่อน น้ำมะพร้าว และยีสต์ มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการแบ่งเซลล์และการเจริญเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในระหว่างการเจริญเติบโต
ผลของไซโทไคนินต่อพืช
1. กระตุ้นการแบ่งเซลล์และการเจริญเปลี่ยนแปลงของเซลล์
2. กระตุ้นให้เกิดหน่อใหม่และตาใหม่ จึงใช้มากในการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
3. กระตุ้นการเจริญของกิ่งแขนง
4. ช่วยให้พืชรักษาความสดไว้ได้นาน
5. ช่วยให้ปากใบเปิดในที่มืดได้
6. ยืดอายุไม้ตัดดอกบางชนิดไม่ให้เหี่ยวเร็ว
7. ชะลอการแก่ของใบ และผลไม้ให้ช้าลง
8. ช่วยในการสร้างโปรตีน RNA และ DNA เพิ่มขึ้น
เอทิลีน (ethylene)

เป็นฮอร์โมนพืชมีสมบัติเป็นแก๊สที่ระเหยได้ เกิดขึ้นในกระบวนการเมแทบอลิซึมของพืช โดยเฉพาะในช่วงที่ผลไม้สุก จะมีแก๊สนี้แพร่ออกมามาก และสามารถเหนี่ยวนำให้ผลไม้ที่อยู่ใกล้ ๆ สุกตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้ในการบ่มผลไม้ จึงมักวางผลไม้ รวมกันไว้ในที่มิดชิด เมื่อเกิดแก๊สเอทิลีนออกมาแล้ว ทำให้ผลไม้ที่อยู่ข้าง ๆ สุกตามไปด้วย
ในกรณีที่พืชได้รับเอทิลีนมากเกินไปในบางช่วงในขณะที่เจริญเติบโตจะทำให้ใบ ร่วงมากกว่าปกติ หรืออาจไปเร่ง ให้ผลสุก เร็วกว่าความต้องการ ทำให้เก็บรักษาไว้ได้ไม่นาน แทนที่จะเกิดผลดีกลายเป็นผลเสีย ในกรณีที่ส่งออกไม้ผลไปขาย จึงต้องหาทาง กำจัดเอทิลีนในช่วงทำการขนส่ง เพื่อเก็บรักษาผลไม้ให้อยู่ในสภาพเดิมได้นานไม่สุก เทคโนโลยีที่ใช้หลังการเก็บเกี่ยว ผลิตผลทางการเกษตร จึงมีความสำคัญมาก ทั้งในด้านการขนส่ง การบรรจุหีบห่อจากแหล่งผลิตไปสู่ผู้บริโภค การใช้สารเคมีบางอย่าง เช่น ด่างทับทิม ช่วยชะลอการสุกของผลไม้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลไม้ที่สุกแล้วเละง่าย เช่น กล้วย มะม่วง เป็นต้น
ผลของเอทิลีนต่อพืช
    1. เร่งการสุกของผลไม้ทำให้ผลเปลี่ยนสีได้รวดเร็วและสม่ำเสมอ
    2. กระตุ้นการออกดอกของพืชพวกสับปะรด
    3. กระตุ้นการหลุดร่วงของใบไม้ ดอก ผล และลดความเหนียวของขั้วผลทำให้ เก็บเกี่ยวง่ายขึ้น
    4. กระตุ้นการงอกของเมล็ดพืชบางชนิด
    5. ทำลายการพักตัวของเมล็ด
    6. เร่งการไหลของน้ำยางพารา เพิ่มปริมาณน้ำยางมะละกอ
    7. กระตุ้นการเกิดรากฝอยและรากแขนง

กรดแอบไซซิค (abscisic acid)

เป็นฮอร์โมนพืชที่พบมากในใบที่แก่จัด ตา เมล็ด ในผลทุกระยะ และบริเวณหมวกราก สภาวะขาดน้ำกระตุ้นให้พืชสร้างกรดแอบไซซิคได้มากขึ้น กรดแอบไซซิคสามารถลำเลียงไปตามท่อลำเลียงและเนื้อเยื่อที่มีชีวิตของพืช
ผลของกรดแอบไซซิคต่อพืช
    1. กระตุ้นการหลุดร่วงของใบและผลที่แก่จัด
    2. ยับยั้งการเจริญและการยืดตัวของเซลล์
    3. ยับยั้งการเจริญของตาและยอดพืช
    4. ยับยั้งการงอกของเมล็ด
    5. กระตุ้นปากใบปิดเพื่อลดการคายน้ำ
    6. ทำให้พืชปล้องสั้น ใบมีขนาดเล็ก เซลล์ในเนื้อเยื่อเจริญหยุดแบ่งตัว
    7.  กระตุ้นการพักตัวของพืช
สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายฮอร์โมน
สารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติเหมือนออกซิน สังเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตร สำหรับใช้เร่งรากของกิ่งตอนหรือกิ่งปักชำ ช่วยในการเปลี่ยนเพศดอกบางชนิด ช่วยให้ผลติดมากขึ้น ป้องกันการร่วงของผล สารสังเคราะห์เหล่านี้ ได้แก่
- IBA (indolebutylic acid )
- NAA (naphtaleneacetic acid )
- 2, 4 - D (2-4 dichlorophenoxyacetic acid)
สารสังเคราะห์ 2, 4-D นำไปใช้ในวงการทหารในสงครามเวียดนาม ใช้โปรยใส่ต้นไม้ในป่าเพื่อให้ใบร่วง จะได้เห็นภูมิประเทศ ในป่าได้ชัดขึ้น สารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติเหมือนไซโทไคนิน นิยมนำมาใช้กระตุ้นการเจริญของตาพืช ช่วยรักษาความสด ของไม้ตัดดอกให้อยู่ได้นาน ได้แก่
- BA (6-benzylamino purine)
- PBA (tetrahydropyranyl benzyladenine)
สารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติเหมือนเอทิลีน ได้แก่
- สารเอทิฟอน (ethephon, 2-chloroethyl phosphonic acid ) นำมาใช้เพิ่มผลผลิตของน้ำยางพารา
- สาร Tria ใช้เร่งการเจริญเติบโตของพืช ประเภทข้าว ส้ม ยาสูบ


สารควบคุมการเจริญเติบโต


 สารควบคุมการเจริญเติบโตนำมาใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง ทั้งทางด้านการเพิ่มผลผลิต การผลิตพืชนอกฤดู ลดแรงงานในการผลิตพืช เป็นต้น การใช้สารให้ได้ผลตามที่ต้องการนั้นจะต้องทราบคุณสมบัติของสารแต่ละชนิดและ เลือกใช้ให้ถูกกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ จึงขอยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากสารเหล่านี้เพียงบางประการเพื่อใช้เป็นแนว ทางในการผลิตพืชต่อไป
1. ออกซิน คุณสมบัติที่สำคัญของออกซินข้อหนึ่งคือ ความสามารถในการกระตุ้นการเกิดรากและการเจริญของราก จึงได้มีการนำออกซินมาใช้กับกิ่งปักชำหรือกิ่งตอนของพืชทั่ว ๆ ไป เพื่อเร่งให้เกิดรากเร็วขึ้นและมากขึ้น
ภาพที่ 4 การใช้ฮอร์โมนช่วยเร่งรากของกิ่งปักชำ
นอกจากนี้พืชบางชนิดออกรากได้ยาก แต่ถ้ามีการใช้ออกซินเข้าช่วยก็จะทำให้ออกรากได้ง่ายขึ้น สารที่นิยมใช้ในการเร่งรากคือ เอ็นเอเอ (NAA) และไอบีเอ (IBA) ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้จัดว่าเป็นออกซินอย่างอ่อน มีพิษต่อพืชน้อย รากที่เกิดขึ้นจากการใช้สาร 2 ชนิดนี้จึงมักไม่มีอาการผิดปกติ แต่ถ้าใช้สารพวก 2,4-ดี หรือ 4-ซีพีเอ ซึ่งมีฤทธิ์ของออกซินสูง จะทำให้รากผิดปกติ คือกุดสั้น รากหนาเป็นกระจุก ประโยชน์ของออกซินอีกข้อหนึ่งคือ ใช้ป้องกันผลร่วงได้ในพืชหลายชนิด เช่น มะม่วง มะนาว ส้ม ลางสาด ขนุน มะละกอ เนื่องจากออกซินมีคุณสมบัติยับยั้งการสร้างรอยแยก (abscission layer) ในบริเวณขั้วผลได้ อย่างไรก็ตาม ออกซินไม่สามารถยับยั้งการร่วงของผลได้ในบางกรณี เช่น การร่วงเนื่องจากโรคและแมลงเข้าทำลาย การร่วงของผลที่ไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น หรือการร่วงเนื่องจากความผิดปกติของผล ออกซินที่นิยมใช้ในการป้องกันการร่วงของผลคือ เอ็นเอเอ, 2,4-ดี และ4-ซีพีเอ แต่จะไม่ใช้ ไอบีเอ เนื่องจาก ไอบีเอ ก่อให้เกิดพิษกับใบพืช ทางด้านการเร่งดอกนั้น อาจกล่าวได้ว่า ออกซินไม่มีคุณสมบัติทางด้านนี้โดยตรง ในต่างประเทศเคยมีการใช้ เอ็นเอเอ เพื่อเร่งดอกสับปะรด ซึ่งก็ได้ผลดีพอสมควร ต่อมาจึงพบว่าการที่สับปะรดออกดอกได้นั้น เกิดขึ้นจากการที่ เอ็นเอเอ ไปกระตุ้นให้ต้นสับปะรดสร้างเอทิลีนขึ้นมา และเอทิลีนนั้นเองเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดดอก ผลทางด้านอื่น ๆ ของออกซินได้แก่ การเปลี่ยนเพศดอก ซึ่งปัจจุบันชาวสวนเงาะในประเทศไทยใช้กันอยู่ทุกแห่ง โดยใช้ เอ็นเอเอ พ่นไปที่ช่อดอกเงาะบางส่วน ทำให้ช่อดอกที่ถูกสารเปลี่ยนจากดอกสมบูรณ์เพศที่ทำหน้าที่ตัวเมียกลายเป็น ดอกตัวผู้ขึ้นมาแทน ซึ่งทำให้เกิดการถ่ายละอองเกสรและเกิดการปฏิสนธิขึ้นได้ การใช้ออกซินความเข้มข้นสูง ไม่ว่าชนิดใดก็ตาม มักจะก่อให้เกิดความเป็นพิษกับพืช เช่น ใบร่วง ต้นชะงักการเติบโต จนกระทั่งทำให้ต้นตาย ดังนั้นจึงมีการใช้สาร 2,4-ดี ซึ่งมีฤทธิ์ของออกซินสูงมาก เป็นยากำจัดวัชพืชอย่างกว้างขวาง
2. จิบเบอเรลลิน มีคุณสมบัติสำคัญเกี่ยวข้องกับ การยืดตัวของเซลล์ ดังนั้นจึงใช้ในการเร่งการเติบโตของพืชทั่ว ๆ ไปได้ ผักกินใบหลายชนิดตอบสนองต่อจิบเบอเรลลินได้ดี โดยจะมีการเติบโตของเซลล์รวดเร็วขึ้น ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ผักบางชนิดที่มีการเติบโตของต้นเป็นแบบกระจุก (rosette plant) เช่น ผักกาดหอมห่อ ผักกาดขาวปลี กะหล่ำปลี ถ้ามีการใช้จิบเบอเรลลินกับพืชเหล่านี้ในระยะต้นกล้า จะทำให้เกิดการยืดตัวของต้นอย่างรวดเร็ว และออกดอกได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ในแง่การผลิตเมล็ดพันธุ์ ในกรณีของไม้ผลยืนต้นหลายชนิด เช่น มะม่วง ส้ม และไม้ผลเขตหนาวอื่น ๆ พบว่า จิบเบอเรลลินมีผลเร่งการเติบโตทางด้านกิ่งใบและยับยั้งการออกดอก ดังนั้นในกรณีที่ต้องการเร่งใบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะต้นกล้า จึงอาจใช้จิบเบอเรลลินให้เป็นประโยชน์ได้ จิบเบอเรลลินยังมีผลช่วยขยายขนาดผลได้ เช่น องุ่น มะม่วง ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้อยู่ในบางสวนของประเทศไทย ประโยชน์ทางด้านอื่น ๆ ของจิบเบอเรลลินได้แก่ ใช้ในการเปลี่ยนแปลงดอกของพืชบางชนิด เช่น พืชตระกูลแตง และข้าวโพดหวาน ให้มีดอกตัวผู้มากขึ้น เพื่อประโยชน์ในการถ่ายละอองเกสรและยังใช้ทำลายการพักตัวของหัวมันฝรั่งและ เมล็ดพืชบางชนิดได้
ภาพที่ 5 การเพิ่มขนาดของผลองุ่น โดยใช้จิบเบอเรลลิน
3. ไซโตไคนิน คุณสมบัติในการช่วยแบ่งเซลล์ของไซโต ไคนินมีประโยชน์ในงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นอย่างมากโดยใช้ผสมเข้าไปใน สูตรอาหารเพื่อช่วยการเติบโตของแคลลัสและกระตุ้นให้ก้อนแคลลัสพัฒนากลายเป็น ต้นได้ ประโยชน์ทางด้านอื่นของไซโตไคนินมีค่อนข้างจำกัด นอกจากการนำมาใช้เร่งการแตกตาของพืช ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการควบคุมทรงพุ่มและเร่งการแตกตาของพืชที่ขยายพันธุ์ ด้วยการติดตาแล้ว ไซโตไคนินยังมีคุณสมบัติชะลอการแก่ชราของพืชได้ จึงสามารถยืดอายุการเก็บรักษาผักกินใบและผลไม้ รวมทั้งดอกไม้ได้หลายชนิด แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นเพียงงานทดลองเท่านั้น ยังไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงจัง
4. เอทิลีนและสารปลดปล่อยเอทิลีน เป็นสารเร่งการ สุกของผลไม้จึงใช้ในการบ่มผลไม้โดยทั่ว ๆ ไป การสุกของผลไม้ตามปกติก็เกิดจากการที่ผลไม้นั้น สร้างเอทิลีนขึ้นมา ดังนั้นการให้เอทิลีนกับผลไม้ที่แก่จัดจึงสามารถเร่งให้เกิดการสุกได้เร็ว กว่าปกติ โดยที่คุณภาพของผลไม้ไม่ได้เปลี่ยนไป ในต่างประเทศใช้ก๊าซเอทิลีนเป็นตัวบ่มผลไม้โดยตรง แต่ต้องสร้างห้องบ่มโดยเฉพาะ ส่วนในประเทศไทยไม่มีห้องบ่มจึงใช้ถ่านก๊าซ (calcium carbide) ในการบ่มผลไม้แทน โดยที่ถ่านก๊าซเมื่อทำปฏิกริยากับน้ำจะได้ก๊าซอะเซทิลีนออกมา ซึ่งมีผลเร่งการสุกเหมือนกับเอทิลีน เกษตรกรบางรายเริ่มนำ เอทีฟอน เข้ามาใช้บ่มผลไม้ แต่ยังไม่มีผู้ใดให้คำยืนยันในเรื่องพิษตกค้างของสารนี้ เอทีฟอนเป็นสารปลดปล่อยเอทิลีนซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง เช่น ใช้ในการเร่งดอกสับปะรด เร่งการไหลและเพิ่มปริมาณน้ำยางพาราและยางมะละกอ เร่งการแก่ของผลไม้บนต้นให้แก่พร้อมกัน เช่น เงาะ มะม่วง ลองกอง องุ่น มะเขือเทศ กาแฟ เร่งการแก่ของใบยาสูบ และมีแนวโน้มที่จะนำสารนี้มาใช้ประโยชน์ได้อีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเร่งการแก่และการสุกของผลไม้
ภาพที่ 6 การใช้เอทิลีนในการบ่มผลไม้
5. สารชะลอการเจริญเติบโตของพืช มีผลยับยั้งจิบเบอเรลลิน ดังนั้น ลักษณะใดก็ตามที่ถูกควบคุมโดยจิบเบอเรลลิน ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยการใช้สารชะลอการเจริญเติบโต คุณสมบัติสำคัญของสารกลุ่มนี้คือ ยับยั้งการยืดตัวของปล้อง ทำให้ต้นเตี้ย กะทัดรัด จึงมีประโยชน์มากในการผลิตไม้กระถางประดับเพื่อให้มีทรงพุ่มสวยงาม (compact) และยังมีประโยชน์สำหรับการผลิตไม้ผลโดยระบบปลูกชิด (high density planting) คุณสมบัติอีกประการหนึ่งของสารคือ ทำให้พืชทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงอาจใช้เพิ่มผลผลิตพืชบางชนิดที่ปลูกในสภาพดังกล่าวได้ เช่น แดมิโนไซด์ สามารถเพิ่มผลผลิตผักกาดขาวปลี และผักกาดเขียวปลี ซึ่งปลูกในฤดูร้อนได้ ประโยชน์ที่สำคัญของสารชะลอการเจริญเติบโตคือ สามารถเร่งดอกไม้ผลบางชนิดได้ เช่น การใช้ พาโคลบิวทราโซล กับมะม่วงและลิ้นจี่ ทำให้มีช่อดอกมากขึ้นและการออกก่อนฤดูกาลปกติ ทั้งนี้เนื่องจากสารชะลอการเจริญเติบโตมีผลลดปริมาณจิบเบอเรลลินภายในต้น ซึ่งจิบเบอเรลลินมีผลยับยั้งการออกดอก ดังนั้นเมื่อจิบเบอเรลลินน้อยลงกว่าปกติ จึงทำให้ไม้ผลเหล่านี้ออกดอกได้
ภาพที่ 7 สารพาโคลบิวทราโซล ช่วยเร่งการออกดอกของมะม่วงนอกฤดูกาล
ภาพที่ 8 การใช้สารชะลอการเจริญเติบโต ลดความสูงของไม้ประดับ
6. สารยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช จาก คุณสมบัติสำคัญในการยับยั้งการแบ่งเซลล์ของพืช จึงนำมาใช้ประโยชน์ได้ในบางกรณีเช่น การใช้ มาเลอิก ไฮดราไซด์ ยับยั้งการงอกของหอมหัวใหญ่และมันฝรั่ง ใช้ในการชักนำให้เกิดการพักตัวของต้นส้มเพื่อการสะสมอาหารสำหรับออกดอก สารยับยั้งการเติบโตมีผลยับยั้งการแบ่งเซลล์ในบริเวณปลายยอด หรืออาจกล่าวได้ว่ามีผลทำลายตายอด จึงทำให้ออกซินไม่สามารถสร้างขึ้นที่ปลายยอดได้เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้ตา ข้างเจริญออกมาแทน ซึ่งเป็นประโยชน์ในแง่ของการบังคับให้ต้นแตกกิ่งแขนงได้มาก เช่นการใช้ มาเลอิก ไฮดราไซด์ เพิ่มการแตกพุ่มของไม้พุ่มหรือไม้ที่ปลูกตามแนวรั้ว การใช้คลอฟลูรีนอล เพิ่มจำนวนหน่อของสับปะรดและสับปะรดประดับ อย่างไรก็ตามประโยชน์ของสารกลุ่มนี้ยังมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ
7. สารอื่น ๆ เป็นสารซึ่งมีคุณสมบัติผิดแปลกออกไป จนไม่อาจชี้เฉพาะลงไปได้ แต่ก็มีการใช้สารในกลุ่มนี้เพิ่มผลผลิตพืชหลายชนิด เช่นกัน ได้แก่ การใช้เออร์โกสติมในการเพิ่มขนาดผลส้มหรือเพิ่มขนาดและน้ำหนักของผลสตรอเบอ รี่เพิ่มน้ำตาลในอ้อย โดยใช้ไกลโฟท์ซีน (glyphosine) หรือการเพิ่มการติดผลของผลไม้บางชนิด การขยายขนาดผลและเพิ่มผลผลิตธัญพืชโดยใช้อโทนิก


การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช
พืชและสัตว์ต่างเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของ
สภาพแวดล้อมได้แตกต่างกัน แต่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าพืชไม่มีพฤติกรรม
การตอบสนองที่แสดงให้เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น  แต่ถ้าพิจารณาถึง
พฤติกรรมต่าง ๆ ที่พืชแสดงออกแล้วจะพบว่าพืชก็มีการตอบสนองต่อสภาพ
แวดล้อมเช่นกัน แต่จะเป็นไปอย่างช้าๆ และเห็นไม่ชัดเจนเท่ากับพฤติกรรม
ในสัตว์
        พืชจะมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้จะต้องมี  สิ่งเร้า หรือ   ตัวกระตุ้น
มากระทำให ้เกิดการเปลี่ยนแปลง สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการตอบสนอง
ของพืชแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
         1. สิ่งเร้าภายนอก ได้แก่ แสงสว่าง อณหภูมิ น้ำ แรงโน้มถ่วงของโลก ฯลฯ
         2. สิ่งเร้าภายใน ได้แก่ ระยะการเจริญเติบโตซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลง
ภายในเซลล์ เป็นต้น

ไมยราพเป็นพืชพื้นเมืองของอเมริกาใต้    มีการเคลื่อนไหวแบบนาสติก 2
แบบคือ ไฮโปนาสตี  เกิดจากการถูกสัมผัส   อีกแบบคืดโฟโตนาสตี   เกิดจาก
แสงสัมผัส ทั้ง 2 แบบนี้เกิดขึ้นบริเวณโคนก้านใบ      หรือโคนก้านใบย่อยที่มี
กลุ่มเซลล์อยู่กันหลวมๆเพียงแต่การแตะเบาๆเท่านั้น    บริเวณนี้ก็จะเสียน้ำที่
เก็บสะสมไว้ออกไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ใบหรือก้านใบเหี่ยว
        
        ระบบทุกระบบในร่างกายของสิ่งมีชีวิตต้องประสานสัมพันธ์กัน   ระบบ
ลำเลียงน้ำของพืช    มีรากซึ่งทำหน้าที่ดูดน้ำและธาตุอาหารในดินเข้าสู่เนื้อเยื่อ
ลำเลียงไปยังส่วนต่าง ๆ   สำหรับระบบลำเลียงอาหารก็จะช่วยให้เซลล์ในทุก
ระบบได้รับอาหารจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงอย่างทั่วถึง ระบบสืบพันธุ์
ต้องการน้ำและอาหารในการสร้างอวัยวะสืบพันธุ์และเพื่อการเจริญพัฒนาของ
ต้นอ่อน        
        ถ้าระบบอวัยวะบางระบบทำงานผิดปกติไปก็อาจจะส่งผลต่อระบบอื่นๆ
ด้วย เช่น การที่แมลงกัดกินใบและกิ่งก้านพืช   เป็นการรบกวนการลำเลียงน้ำ
อาหาร  และทำลายเนื้อเยื่อที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้    ถ้าพืชถูกแมลงกัดกิน
เสียหายมากจะทำให้การเจริญเติบโตช้าไม่มีดอกผลตามฤดูกาล  และอาจ
ทำให้ไม่สามารถเกิดการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมได้
อย่างเหมาะสม







บทที่ 14 : การสืบพันธุ์ของพืชดอก

การสืบพันธุ์ของพืชดอก
                ดอกไม้นานาชนิด จะเห็นว่านอกจากจะมีสีต่างกันแล้วยังมีรูปร่าง ขนาด และโครงสร้างขอกดอกแตกต่างกัน
ดอกบางชนิดมีกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น บางชนิดมีกลีบดอกไม่มากนักและมีชั้นเดียว ดอกบางชนิดมีขนาดใหญ่มาก
บางชนิดเล็กเท่าเข็มหมุด นอกจากนี้ดอกบางชนิดมีกลิ่นหอมน่าชื่นใจ แต่บางชนิดมีกลิ่นฉุนหรือบางชนิดไม่มีกลิ่น
ความหลากหลายของดอกไม้เหล่านี้เกิดจากการที่พืชดอกมีวิวัฒนาการมายาวนาน จึงมีความหลากหลายทั้งสี รูปร่าง
โครงสร้าง กลิ่น ฯลฯ แต่ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันดอกก็ทำหน้าที่เหมือนกันคือ เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของพืช
 การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชมีดอก
                สิ่งมีชีวิตต้องการสารอาหารเพื่อการดำรงชีวิต เมื่อสิ่งมีชีวิตเจริญเติบโตเต็มที่ก็จะสืบพันธุ์
ุ์เพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์ของตนเองไว้ พืชก็เช่นเดียวกันการสืบพันธุของพืชมีทั้งการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
และไม่อาศัยเพศ
        การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกจะต้องมีการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย
ซึ่งเกิดขึ้นในดอก ดังนั้นดอกจึงเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของพืชดอก
  
 โครงสร้างของดอก
ดอกไม้ต่างๆ ถึงแม้จำทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์เหมือนกันแต่ก็มีโครงสร้างแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของพืช
ดอกแต่ละชนิดมีโครงสร้างของดอกแตกต่างกันออกไป บางชนิดมีโครงสร้างหลักครบทั้ง 4 ส่วน ซึ่งได้แก่ กลีบเลี้ยง
กลีบดอก เกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย เรียกว่า ดอกสมบูรณ์
(complete flower) แต่ถ้าขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปไม่ครบ
4 ส่วนเรียกว่า ดอกไม่สมบูรณ์
(incomplete flower) และดอกที่มีทั้งเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย
อยู่ภายในดอกเดียวกัน เรียกว่า ดอกสมบูรณ์เพศ
(perfect flower)                ถ้ามีแต่เกสรเพศผู้หรือเกสรเพศเมียเพียงอย่างเดียว เรียกว่า ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (imperfect flower)
จากโครงสร้างของดอกยังสามารถจำแนกประเภทของดอกได้อีกโดยพิจารณาจากตำแหน่งของรังไข่ เมื่อเทียบกับฐาน
รองดอกซึ่งได้แก่ ดอกประเภทที่มีรังไข่อยู่เหนือฐานรองดอก เช่น ดอกมะเขือ จำปี ยี่หุบ บัว บานบุรี พริก ถั่ว มะละกอ ส้ม
เป็นต้น และดอกประเภทที่มีรังไข่อยู่ใต้ฐานรองดอก เช่น ดอกฟักทอง แตงกวา บวบ ฝรั่ง ทับทิม กล้วย พลับพลึง เป็นต้น
                ดอกของพืชแต่ละชนิดจะมีจำนวนดอกบนก้านดอกไม่เท่ากัน จึงสามารถแบ่งดอกออกเป็น 2 ประเภท คือ
ดอกเดียว
(solotary flower) และช่อดอก (inflorescences flower)
                ดอกเดี่ยว หมายถึง ดอกหนึ่งดอกที่พัฒนามาจากตาดอกหนึ่งตา ดังนั้นดอกเดี่ยวจึงมีหนึ่งดอก
บนก้านดอกหนึ่งก้าน เช่น ดอกมะเขือเปราะ จำปี บัว เป็นต้น
                ช่อดอก หมายถึง ดอกหลายดอกที่อยู่บนก้านดอกหนึ่งก้าน เช่น เข็ม ผักบุ้ง มะลิ กะเพรา กล้วย กล้วยไม้ ข้าว
เป็นต้น แต่การจัดเรียงตัว และการแตกกิ่งก้านของช่อดอกมีความหลากหลาย นักวิทยาศาสตร์ใช้ลักษณะการจัดเรียงตัว
และการแตกกิ่งก้านของช่อดอกจำแนกช่อดอกออกเป็นแบบต่างๆ
                ช่อดอกบางชนิดมีลักษณะคล้ายดอกเดี่ยว ดอกย่อยเกิดตรงปลายก้านช่อดอกเดียวกัน ไม่มีก้านดอกย่อย
ดอกย่อยเรียงกันอยู่บนฐานรองดอกที่โค้งนูนคล้ายหัว เช่น ทานตะวัน ดาวเรือง บานชื่น บานไม่รู้โรย ดาวกระจาย เป็นต้น
ช่อดอกแบบนี้ประกอบด้วยดอกย่อยๆ 2 ชนิด คือ ดอกวงนอกอยู่รอบนอกของดอก และดอกวงในอยู่ตรงกลางดอก
ดอกวงนอกมี 1 ชั้น หรือหลายชั้นเป็นดอกสมบูรณ์เพศ หรือไม่สมบูรณ์เพศก็ได้ ส่วนมากเป็นดอกเพศเมีย
ส่วนดอกวงในมักเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีกลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปทรงกระบอกอยู่เหนือรังไข่
การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของพืชดอก
                การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ของพืชดอกจะเกิดขึ้นภายใน อับเรณู (anther) โดยมีไมโครสปอร์มาเทอร์เซลล์
(microspore mother cell) แบ่งเซลล์แบบไมโอซิสได้ 4 ไมโครสปอร์ (microspore) แต่ละเซลล์มีโครโมโซมเท่ากับ n
หลังจากนั้นนิวเคลียสของไมโครสปอร์จะแบ่งแบบไมโทซิส ได้ 2 นิวเคลียส คือ เจเนอเรทิฟนิวเคลียส (generative
nucleus)
และทิวบ์นิวเคลียส (tube nucleus) เรียกเซลล์ในระยะนี้ว่า ละอองเรณู(pollen grain)
หรือแกมีโทไฟต์เพศผู้ (male gametophyte) ละอองเรณูจะมีผนังหนา ผนังชั้นนอกอาจมีผิวเรียบ
หรือเป็นหนามเล็กๆแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิดของพืช เมื่อละอองเรณูแก่เต็มท ี่อับเรณูจะแตกออก
ทำให้ละอองเรณูกระจายออกไปพร้อมที่จะผสมพันธุ์ต่อไปได้
                การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียของพืชดอกเกิดขึ้นภายในรังไข่ ภายในรังไข่อาจมีหนึ่งออวุล (ovule)
หรือหลายออวุล ภายในออวุลมีหลายเซลล์ แต่จะมีเซลล์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่ เรียกว่า เมกะสปอร์มาเทอร์เซลล์
(megaspore mother cell) มีจำนวนโครโมโซม 2n ต่อมาจะแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสได้ 4 เซลล์สลายไป 3 เซลล์
เหลือ 1 เซลล์ เรียกว่า เมกะสปอร์
(megaspore) หลังจากนั้นนิวเคลียสของเมกะสปอร์จะแบ่งแบบไมโทซิส
3 ครั้ง ได้ 8 นิวเคลียส และมีไซโทพลาซึมล้อมรอบ เป็น 7 เซลล์    3 เซลล์อยู่ตรงข้ามกับไมโครไพล์ 
(micropyle)
เรียกว่า แอนติแดล
(antipodals) ตรงกลาง 1 เซลล์มี 2 นิวเคลียสเรียก เซลล์โพลาร์นิวคลีไอ
(polar nuclei cell)
 ด้านไมโครไพล์มี 3 เซลล์ ตรงกลางเป็นเซลล์ไข่ (egg cell) และ2 ข้างเรียก ซินเนอร์จิดส์ (synergids) ในระยะนี้ 1 เมกะสปอร์ได้พัฒนามาเป็นแกมีโทไฟต์ที่เรียกว่า ถุงเอ็มบริโอ (embryo sac) หรือ
แกมีโทไฟต์เพศเมีย
(female gametophyte)

การถ่ายละอองเรณู
                พืชดอกแต่ล่ะชนิดมีละอองเรณูและรังไข่ที่มีรูปร่างลักษณะ และจำนวนที่แตกต่างกัน
เมื่ออับเรณูแก่เต็มที่ผนังของอับเรณูจะแตกออกละอองเรณูจะกระจายออกไปตกบนยอดเกสรตัวเมีย
โดยอาศัยสื่อต่างๆพาไป เช่น ลม น้ำ แมลง สัตว์ รวมทั้งมนุษย์ เป็นต้น ปรากฏการณ์ที่ละอองเรณูตกลงสู่ยอดเกสรตัวเมีย
เรียกว่า การถ่ายละอองเรณู
(pollination)
                พืชบาง ชนิดที่เป็นพืชเศรษฐกิจ หรือพืชที่ใช้บริโภคเป็นอาหาร ถ้าปล่อยให้เกิดการถ่ายละอองเรณูตามธรรมชาติ ผลผลิตที่ได้จะไม่มากนัก เช่น ทุเรียนพันธุ์ชะนีจะติดผลเพียงร้อยละ 3 ส่วนพันธุ์ก้านยาวติดผลร้อยละ 10 พืชบางชนิด เช่น สละ เกสรเพศผู้มีน้อยมาก จึงทำให้การถ่ายละอองเรณูเกิดได้น้อย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลให้การถ่ายละอองเรณูได้น้อย เช่น จำนวนของแมลงที่มาผสมเกสร ระยะเวลาของการเจริญเติบโตเต็มที่ของเกสรเพศเมีย และเกสรเพศผู้ไม่พร้อมกัน ปัจจุบันมนุษย์จึงเข้าไปช่วยทำให้เกิดการถ่ายละอองเรณูได้มากขึ้น เช่น เลี้ยงผึ้งเพื่อช่วยผสมเกสร ศึกษาการเจริญของละอองเรณู และออวุล แล้วนำความรู้มาช่วยผสมเกสร เช่น ในทุเรียนการเจริญเติบโตของอับเรณูจะเจริญเต็มที่ในเวลา 19.00 19.30 น. ชาวสวนก็จะตัดอับเรณูที่แตกเก็บไว้ และเมื่อเวลาที่เกสรเพศเมียเจริญเต็มที่ คือ ประมาณเวลา 19.30 น. เป็นต้นไป ก็จะนำพู่กันมาแตะละอองเรณูที่ตัดไว้วางบนยอดเกสรเพศเมีย หรือเมื่อตัดอับเรณูแล้วก็ใส่ถุงพลาสติก แล้วไปครอบที่เกสรเพศเมีย เมื่อเกสรเพศเมียเจริญเต็มที่แล้วการถ่ายละอองเรณูจะเกิดได้ดี และในผลไม้อื่น เช่น สละก็ใช้วิธีการเดียวกันนี้

การปฏิสนธิซ้อน
                เมื่อละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย ทิวบ์นิวเคลียสของละอองเรณูแต่ละอันจะสร้างหลอดละอองเรณูด้วยการงอกหลอดลงไป ตามก้านเกสรเพศเมียผ่านทาง
รูไมโครไพล์ของออวุล ระยะนี้เจเนอเรทิฟนิวเคลียสจะแบบนิวเคลียสแบบไมโทซิสได้ 2 สเปิร์มนิวเคลียส
(sperm
nucleus)
สเปิร์มนิวเคลียสหนึ่งจะผสมกับเซลล์ไข่ได้ไซโกต ส่วนอีกสเปิร์มนิวเคลียสจะเข้าผสมกับเซลล์โพลาร์นิวเคลียสไอได้ เอนโดสเปิร์ม (endosperm) เรียกการผสม 2 ครั้ง
ของสเปิร์มนิวเคลียสนี้ว่า การปฏิสนธิซ้อน
(double fertilization)

การเกิดผล
                ภายหลังการปฏิสนธิ ออวุลแต่ละออวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด ส่วนรังไข่จะเจริญไปเป็นผล
มีผลบางชนิดที่สามารถเจริญมาจากฐานรองดอก ได้แก่ ชมพู่ แอปเปิ้ล สาลี่ ฝรั่ง
                ผลของพืชบางชนิดอาจเจริญเติบโตมาจากรังไข่โดยไม่มีการปฏิสนธิ หรือมีการปฏิสนธิตามปกติ
แต่ออวุลไม่เจริญเติบโตเป็นเมล็ด ส่วนรังไข่สามารถเจริญเติบโตเป็นผลได้ เช่น กล้วยหอม องุ่นไม่มีเมล็ด
                นักพฤกษศาสตร์ได้แบ่งผลตามลักษณะของดอกและการเกิดผลออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้
                1. ผลเดี่ยว (simple fruit) เป็นผลที่เกิดจากดอกเดี่ยว หรือ ช่อดอกซึ่งแต่ละดอกมีรังไข่เพียงอันเดียว
เช่น ลิ้นจี่ เงาะ ลำไย ทุเรียน ตะขบ เป็นต้น
                2. ผลกลุ่ม (aggregate fruit) เป็นผลที่เกิดจากดอกหนึ่งดอกซึ่งมีหลายรังไข่อยู่แยกกันหรือติดกันก็ได้อยู่บนฐานรองดอกเดียวกัน เช่น น้อยหน่า
กระดังงา สตรอเบอรี่ มณฑา เป็นต้น
                3. ผลรวม (multiple fruit) เป็นผลเกิดจากรังไข่ของดอกย่อยแต่ละดอกของช่อดอกหลอมรวมกัน
เป็นผลใหญ่ เช่น ยอ ขนุน หม่อน สับปะรด เป็นต้น

การเกิดเมล็ด
                การปฏิสนธิของพืชดอกเกิดขึ้นภายในรังไข่ทำให้เกิดไซโกต และเอนโดสเปิร์ม จากนั้นไซโกตก็จะแบ่งเซลล์
์เพิ่มจำนวนมากขึ้น เพื่อพัฒนาเป็นเอ็มบริโอต่อไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเอ็มบริโอ และอัตราการแบ่งเซลล์
รวมทั้งขนาดของเซลล์ที่ได้จากการแบ่งแต่ละบริเวณของเอ็มบริโอไม่เท่ากัน

ส่วนประกอบของเมล็ด
                เมล็ด คือ ออวุลที่เจริญเติบโตเต็มที่ประกอบด้วยเอ็มบริโอที่อยู่ภายใน
เปลือกหุ้มเมล็ดอาจมีเนื้อเยื่อสะสมอาหารอยู่ภายในเมล็ดด้วย
                เมล็ดประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายต่างๆ ให้แก่เอ็มบริโอที่อยู่ภายในเมล็ด เช่น ป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์เข้าไปในเมล็ด
ซึ่งจะทำให้เมล็ดไม่สามารถงอกได้ นอกจากนั้นเปลือกหุ้มเมล็ดยังมีสารพวกไขเคลือบอยู่ทำให้ลดการสูญเสียน้ำได้ด้วย
                2. เอ็มบริโอ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่จะเจริญไปเป็นต้นพืช ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
                                ใบเลี้ยง (cotyledon) เมล็ดพืชใบเลี้ยงคู่มีใบเลี้ยง 2 ใบ ส่วนเมล็ดพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีใบเลี้ยง
เพียง 1 ใบ ใบเลี้ยงของพืชบางชนิดทำหน้าที่สะสมอาหาร เช่น ถั่วชนิดต่างๆ มะขาม บัว เป็นต้น
                                เอพิคอทิล (epicotyl) เป็นส่วนของเอ็มบริโอที่อยู่เหนือตำแหน่งที่ติดกับใบเลี้ยง
ส่วนนี้จะเจริญเติบโตไปเป็นลำต้น ใบและดอกของพืช
                                ไฮโพคอทิล (hypocotyl) เป็นส่วนเอ็มบริโอที่อยู่ใต้ตำแหน่งที่ติดกับใบเลี้ยง
ในระหว่างการงอกของเมล็ดพืชใบเลี้ยงคู่หลายชนิดไฮโพคอทิลจะเจริญดึงใบเลี้ยงให้ขึ้นเหนือดิน
                                แรดิเคิล (radicle) เป็นส่วนล่างสุดของเอ็มบริโออยู่ต่อจากไฮโพคอทิลลงมา ต่อไปจะเจริญเป็นราก
                3. เอนโดสเปิร์ม เป็นเนื้อเยื่อที่มีอาหารสะสมไว้สำหรับการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอ อาหารส่วนใหญ่
่เป็นประเภทแป้ง โปรตีน และไขมัน เมล็ดละหุ่ง เมล็ดละมุด มีเอนโดสเปิร์มหนามาก ส่วนใบเลี้ยงมีลักษณะแบนบาง
มี 2 ใบ สำหรับพืชพวกข้าว หญ้า จะมีใบเลี้ยงเพียงใบเดียว อาหารสะสมอยู่ในเอนโดสเปิร์ม เมล็ดพืชบางชนิดไม่มี
เอนโดสเปิร์มเนื่องจากสะสมอาหารไว้ที่ใบเลี้ยง

การงอกของเมล็ด
                เมล็ดพืชต่างชนิดกันจะมีส่วนประกอบบางอย่างที่เหมือนกัน และบางอย่างแตกต่างกัน
                การงอกของเมล็ดถั่วเหลือง ไฮโพคอทิลจะยืดตัวชูใบเลี้ยงให้โผล่ขึ้นมาเหนือระดับผิวดิน การงอกแบบนี้จะพบ
ในพืชบางชนิด เช่น พริก  มะขาม เป็นต้น การงอกของเมล็ดถั่วลันเตา ส่วนของไฮโพคอทิลไม่ยืดตัวทำให้ ้ใบเลี้ยงยังอยู่ใต้ดินเช่นเดียวกับการงอกของเมล็ดพืชใบเลี้ยงเดี่ยวทั่วๆไป หรือใบเลี้ยงคู่บางชนิด เช่น ขนุน มะขามเทศ
ส่วนของข้าวโพดงอกแล้วใบเลี้ยงไม่โผล่เหนือดิน  มีแต่ส่วนของใบแท้ที่โผล่ขึ้นมาเหนือดิน

ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด
                พืชเศรษฐกิจหลายชนิดยังคงต้องขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ดังนั้นในการเพาะเมล็ดจึงจำเป็น
จะต้องศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดพืช
                 โดยปกติเมล็ดพืชที่แก่เต็มที่จะมีความชื้นต่ำประมาณร้อยละ 10-15 มีอัตราการหายใจต่ำและมีการ
เปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีภายในเมล็ดน้อยมาก ดังนั้นเมล็ดจำเป็นต้องได้รับปัจจัยบางอย่างที่เหมาะสมจึงจะงอกได้
้ดังต่อไปนี้
                น้ำหรือความชื้น เมื่อเมล็ดได้รับน้ำ เปลือกหุ้มเมล็ดจะอ่อนตัวลง ทำให้น้ำและออกซิเจนผ่านเข้าไป
ในเมล็ดได้มากขึ้น เมล็ดจะดูดน้ำเข้าไปทำให้เมล็ดพองตัวขยายขนาด และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น น้ำจะเป็นตัว
กระตุ้นปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่างๆ ภายในเมล็ดมีการกระตุ้นการสร้างเอนไซม์เพื่อย่อยสลายสารอาหารที่สะสมในเมล็ด
เอนไซม์ที่เกิดขึ้นในเมล็ดเ เช่น อะไมเลส จะย่อยแป้งให้เป็นมอลโทส โปรตีเอส จะย่อยโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโน
ทั้งมอลโทสและกรดอะมิโนละลายน้ำได้ และแพร่เข้าไปในเอ็มบริโอเพื่อใช้ในการหายใจและการเจริญเติบโต
นอกจากนี้น้ำยังเป็นตัวทำละลายสารอื่นๆที่สะสมในเมล็ดและช่วยในการลำเลียงสารอาหารไปใช้ตัวอ่อนใช้ในการงอก
                ออกซิเจน เมล็ดขณะงอกมีอัตราการหายใจสูง ต้องการออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการสลายสารอาหาร
เพื่อให้ได้พลังงานซึ่งจะนำไปใช้ในกระบวนการเมแทบอลิซึมต่างๆของเซลล์ แต่มีพืชบางชนิด เช่น พืชน้ำ
สามารถงอกได้ดีในออกซิเจนต่ำ ความชื้นสูง เพราะสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจนได้ แต่เมล็ดหลายชนิด
จะไม่งอกเลย ถ้าออกซิเจนไม่เพียงพอแม้ความชื้นจะสูง เช่น เมล็ดวัชพืชหลายชนิดที่ฝังอยู่ในดินลึกๆ
เมื่อไถพรวนดินให้เมล็ดขึ้นมาอยู่ใกล้ผิวดิน จึงจะงอกได้
                อุณหภูมิ เมล็ดพืชแต่ละชนิดต้องการอุณหภูมิที่เหมาะสมในการงอกแตกต่างกัน เช่น
เมล็ดพืชเขตหนาวจะงอกได้ดีในช่วงอุณหภูมิ 10-20 องศาเซลเซียส เช่น หอมหัวใหญ่และผักกาดหัว งอกได้ดีที่อุณหภูมิ
20 องศาเซลเซียส แต่ก็มีบางชนิดต้องการอุณหภูมิในช่วงกลางวันและกลางคืนที่ต่างกัน หรือให้อุณหภูมิต่ำสลับกับ
อุณหภูมิสูง การงอกจะเกิดดี เช่น บวบเหลี่ยม ถ้าให้อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 16 ชั่วโมง สลับกับอุณหภูมิ 30
องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 ชั่วโมงเมล็ดจึงจะงอกได้ดี
        แสง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ควบคุมการงอกของเมล็ด เมล็ดพืชบางชนิดจะงอกได้ต่อเมื่อมีแสง เช่น วัชพืชต่างๆ
หญ้า ยาสูบ ผักกาดหอม สาบเสือ ปอต่างๆ เป็นต้น เมล็ดพืชอีกหลายชนิดไม่ต้องการแสงในขณะงอก เช่น กระเจี๊ยบ
แตงกวา ผักบุ้งจีน ฝ้าย ข้าวโพด เป็นต้น

การพักตัวของเมล็ด

พืชบาง ชนิด   เช่น   มะม่วง   ลำไย   ขนุน   ทุเรียน   ระกำ  ฯลฯ   เมื่อผลเหล่านี้แก่เต็มที่แล้วนำเมล็ดไปเพาะในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม    ก็จะงอกเป็นต้นใหม่ได้   
แต่บางชนิด   เช่น    แตงโม    เมื่อผลแก่เต็มที่แล้วนำเมล็ดไปเพาะถึงแม้สภาพ
แวดล้อมเหมาะสมต่อการงอก
ต่เมล็ดก็ไม่สามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้   เรียกว่า   มีการพักตัวของเมล็ด   (   seed   dormancy  )   

การพักตัวของเมลดมีสาเหตุหลายประการ    ได้แก่

          1 .   เปลือกหุ้มเมล็ดไม่ยอมให้น้ำซึมผ่าน    เข้าไปยังส่วนต่าง ๆ  ของเมล็ด เนื่องจากเปลือกหุ้มเมล็ดหนา  
หรืออาจมีสารบางชนิดหุ้มอยู่   เช่น   คิวท
น   หรือ  ซูเบอริน    ในธรรมชาติเมล็ดพืางชนิดที่หนาและแข็ง
จะอ่อนตัวลงโดยการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในดินหรือการที่เมล็ดผ่านเข้าไปในระบบย่อยอาหารของสัตว์ที่
เลี้ยงลูกด้วยนมหรือนก   เช่น   เมล็ดโพธิ์   เมล็ดไทร 
มล็ดตะขบ   หรืออาจแตกออกด้วยแรงขัดถู
หรือถูกไฟเผา  เช่น    เมล็ดพืชวงศ
์หญ้า   วงศ์ไผ่บางชนิด   เมล็ดตะเคียน   เมล็ดสัก    

วิธีการแก้การพักตัวของเมล็ดจากสาเหตุนี้    อาจทำได้โดยการแช่น้ำร้อน   หรือแช่ในสารละลายกรด
ราะจะทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนนุ่ม    การใช้วิธีกลโดยการทำให้เลือกหุ้มเมล็ดแตกออกมีหลายวิธี   ช่น
การเฉือนเปลือกแข็งบางส่วนของเมล็ดมะม่วงหรือวิธ
ีนำไปให้ความร้อนโดยการเผา   หรือการใช้ความเย็น
สลับกับความร้อนซึ่งมักจะเก็บไว้ในที่อุณหภูมิต่ำระยะหนึ่งแล้วจึงนำออกมาเพาะ

         2 .  เปลือกหุ้มเมล็ดไม่ยอมให้แก็สออกซิเจนแพร่ผ่าน   การพักตัวแบบนี้มีน้อย      ส่วนใหญ่เป็นพื
วงศ์หญ้าเป็นการพักตัวในระยะสั้น ๆ  เก็บไว้ระยะหนึ่งก็สามารถนำไปเพาะได้    วิธีการแก้การพักตัว
อาจทำได้โดยการเพิ่มแก็สออกซิเจน   หรือใช้วิธีกลทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดแตก

         3 .   เอ็มบริโอของเมล็ดยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่    เมล็ดไม่สามารถจะงอกได้ต้องรอเวลาช่วงหนึ่ง
เพื่อให้เอ็มบริโอมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี   รวมไปถึงการเจริญ
พัฒนาของเอ็มบริโอให้แก่เต็มท
เมล็ดจึงจะงอกได้    เช่น   เมล็ดของปาล์มน้ำมันอัฟริกา

         4 .   สารเคมีบางชนิดยับยั้งการงอกของเมล็ด  เช่น   สารที่มีลักษณะเป็นมือกหุ้มเมล็ด
มะเขือเทศทำไห้เมล็ดไม่สามารถงอกได้    จนกว่าจ
ถูกชะล้างไปจากเมล็ด   การแก้การพักตัวขงเมล็ด
จล้างเมล็ดก่อนเพาะหรือการใช้สารเร่งการงอก  เช่น  จิเบอเรลลิน   (  gibberellin  )  

นอกจากนี้เมล็ดพืชในเขตหนาวของโลก  เช่น   แอปเปิ้ล   เชอรี่    ต้องมีการปรับสภาพภายใน   โดยการผ่าน
ฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิต่ำและมีความชื้นสูงจึงจะงอก  เพราะอุณหภูมิที่ต่ำนี้ทำให้ปริมาณของกรดแอบไซซิก
(  abscisic  acid  )   ที่ยบยั้งการงอกของเมล็ดลดลงได้   ในขณะที่จิบเบอเรลลิน  หรือไซโทไคนิน
(
   cytokinin  )   ที่ส่งเสริมการงอกของเมล็ดจะเพิ่มขึ้น

เมล็ดบางชนิดไม่ปรากฏว่ามีระยะพักตัวเลย  บางชนิดอาจจะมีระยะพักตัวสั้นมากจนสังเกตไม่ได้
เมล็ดของพืชเหล่านี้   สามารถงอกได้ทันทีเมื่อตกถึงดิน   บางชนิดงอกได้ทั้ง ๆ  ที่เมล็ดยังอยู่ในผลหรือ
บนลำต้น  เช่น  เมล็ดขนุน   เมล็ดโกงกาง   เมล็ดมะละกอ   เมล็ดมะขามเทศ   เป็นต้น  


การตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ 
การปลูกพืชจะประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับคุณภาพของเมล็ดพันธุ์    ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสภาพของเมล็ดพันธุ์
   
       การเสื่อมคุณภาพของ เมล็ดพันธุ์   อาจเกิดจากการเสื่อมสภาพของเยื่อหุ้มเซลล์   การทำงานของเอนไซม์    และอัตราการหายใจที่ลดลง  ในการนำเมล็ดมาเพาะปลูก   หรือนำออกจำหน่ายจำเป็นจะต้องตรวจสอบ
คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ว่ามีคุณภาพ  หรือเสื่อมคุณภาพ    
การตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์นั้น   มีการตรวจสอบคุณภาพต่าง ๆ หลายประการ    เช่น   ความสามารถในการงอก
หรือความมีชีวิตของเมล็ดพันธุ์  การตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์  ความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์
ความชื้นของเมล็ดพันธุ์    เป็นต้น    ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะการตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์พืชเท่านั้น 
ความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์พืช   (  seed  vigour  )  หมายถึงลักษณะรวม ๆ  หลายประการของเมล็ดอันเป็นลักษณะเด่น
ที่เมล็ดสามารถแสดงออกมาเมื่อนำเมล็ดนั้นไปเพาะในสภาวะแวดล้อมที่แปรปรวนนและไม่เหมาะสม
เมล็ดที่มีความแข็งแรงสูงจะสามารถงอกได้ดี   ส่วนเมล็ดที่มีความแข็งแรงต่ำไม่สามารถงอกได้หรืองอกได้น้อย
การตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี   เช่น   การเร่งอายุของเมล็ดพันธุ์   การวัดดัชนีการงอกของเมล็ด   เป็นต้น  
การเร่งอายุของเมล็ดพันธุ์   เป็นการกระทำเพื่อใช้ตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์เพื่อที่จะทำนายว่า เมล็ดพันธุ์นั้น    เมื่อเก็บรักษาไว้เป็นเวลานานแล้วจะมีค่าร้อยละของการงอกสูงหรือไม่  วิธีการเร่งอายุเมล็ดพันธุ์ก็คือ
นำตัวอย่างของเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่ต้องการตรวจสอบมาใส่ไว้ในตู้อบที่อุณหภูมิระหว่าง  40 50  องศาเซสเซียส
ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ  100  เป็นเวลา   2
8  วัน  แล้วนำมาเพาะหาค่าร้อยละของการงอก
ถ้าเมล็ดพันธุ์จากแหล่งใดเมื่อผ่านการเร่งอายุแล้วมีค่าร้อยละของการงอกสูง    แสดงว่าเมล็ดพันธุ์แหล่งนั้นแข็งแรง   

ซึ่งจะทำนายได้ว่า  เมล็ดพันธุ์นั้นถูกเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่มีการควบคุมอุณหภูมิ   และความชื้นสัมพัทธ์เป็นเวลา 
12
18   เดือน   เมื่อนำมาเพาะก็จะมีค่าร้อยละของการงอกสูงเช่นกัน
การวัดดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์    อาศัยหลักการที่ว่า   เมล็ดพันธุ์ใดที่มีความแข็งแรงสูง
ย่อมจะงอกได้เร็วกว่าเมล็ดพันธุ์ที่มีความแข็งแรงต่ำ   วิธีการวัดดัชนีการงอกทำได้โดยการนำตัวอย่าง
ของเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่ต้องการตรวจสอบมาเพาะแล้วนับจำนวนเมล็ดที่งอกทุกวัน  นำมาคำนวณหาค่าดัชนี
การงอกโดยเปรียบเทียบกับเมล็ดพันธุ์พืชชนิดเดียวกับจากแหล่งอื่น ๆ
สูตร   ดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์  =  ผลบวกของ  จำนวนเมล็ดที่งอกในแต่ละวัน  }                                                                                                                                            จำนวน วันเมล็ดที่เพาะ
           การตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์แต่ละวิธีมีวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบแตกต่างกันไป   คือ
วิธีการเร่งอายุเมล็ดพันธุ์นั้นเหมาะสำหรับผู้ที่จะผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อการจำหน่ายหรือเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์นั้นไว้
เพาะปลูกในฤดูกาลต่อไป   ส่วนการหาค่าดัชนีการงอกของเมล็ดพันธ์นั้นเหมาะสำหรับเกษตรกร
ที่จะใช้ตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ก่อนที่จะนำไปเพาะปลูก 
 
          เมล็ดมีความสำคัญในแง่ที่เป็นแหล่งสะสมพันธุกรรมของพืช  เพราะในเซลล์ของเอ็มบริโอทุกเซลล์
มีสารพันธุกรรมหรือยีนพืชชนิดนั้น ๆ  อยู่   แม้ว่าต้นพืชชนิดนั้นจะตายไป   แต่ถ้ามีการเก็บเมล็ดของ
พืชนั้นไว้ก็ยังมียีนของพืชนั้น  ๆ    ที่พร้อมจะขยายพันธุ์ต่อไปได้             ปัจจุบันนี้หลายประเทศได้ให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์พันธุ์พืช เป็นอย่างมาก   สำหรับประเทศไทยสถาบัน
วิจัยวิทยาศาสตร์   และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งธนาคารพันธุ์พืชแห่งชาติขึ้น  เพื่อเก็บรวบรวม
และอนุรักษ์พันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ  ทั่วประเทศไทย  เช่น  พันธุ์พืชที่หายาก  และใกล้จะสูญพันธุ์   หรือพันธุ์ที่ดี
มีประโยชน์   เป็นต้น   เพื่อไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชต่าง ๆในอนาคต
          ขั้นตอนการอนุรักษ์พันธุ์พืช   เริ่มด้วยการรวบรวมเมล็ดพันธุ์พืชมาบันทึกประวัติข้อมูลเมล็ดพันธุ์
คัดขนาดเมล็ดพันธุ์   ต่อจากนั้นต้องทำความสะอาด   และทดสอบการงอกของเมล็ดพันธุ์  ทำเมล็ดให้แห้ง
และเก็บรักษาไว้ในภาชนะ  เช่น  กระป๋อง  หรือซองอะลูมิเนียม   ขั้นสุดท้ายนำไปเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิ
0  ถึง  -20  องศาเซสเซียส  จะสามารถเก็บไว้ได้นานกว่า  20   ปี

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชดอกและการขยายพันธุ์พืช
             พืชดอกนอกจากจะสืบพันธุ์โดยใช้เมล็ดซึ่งเป็นวิธีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศแล้ว    ยังมีการสืบพันธุ์
ุ์แบบไม่อาศัยเพศ  โดยใช้ส่วนต่าง ๆ ของพืช  เช่น   การแตกหน่อของขิง   ข่า    ใช้ใบ    ตา   เช่น  ต้นตายใบเป็น
ใช้ราก  เช่น   มันเทศ   เป็นต้น   มนุษย์ได้นำความรู้จากการสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศของพืชต้นใหม่
่ที่มีลักษณะเหมือนต้นเดิม  ไม่กลายพันธุ์รวมทั้งไห้ดอกและผลเร็วขึ้น  แต่การขยายพันธุ์โดยวิธีนี้จะไม่มีรากแก้ว
ทำให้ระบบรากไม่แข็งแรง
             ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีชีวภาพในการเนื้อเยื่อพืช  มาใช้ในการเกษตรอย่างแพร่หลาย  เช่น
การขยายพันธุ์พืชเพื่อให้ได้ต้นพืชจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น  และมีลักษณะเหมือนพันธุ์เดิม
ซึ่งประสบผลสำเร็จกับพืชเศรษฐกิจหลาย ๆ ชนิด เช่น   กล้วยไม้  ไม้ตัดดอกอื่น ๆ  กล้วย   สตรอเบอรี่     
นอกจากนี้การเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชยังมีประโยชน์ในการผลิตพืชที่ปลอดโรค  การสร้างพืชสายพันธุ์แท้ 
การเก็บพันธุ์พืชเพื่อการอนุรักษ์  ฯลฯ   ส่วนทางด้านการแพทย์และเภสัชกรรม  สามารถทำให้เซลล์หรือเนื้อเยื่อพืช
สร้างสารเคมีที่ต้องการได้
การขยายพันธุ์พืชโดยการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 
             การเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นการนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชไม่ว่าจะเป็นอวัยวะ  เนื้อเยื่อ  เซลล์ 
แม้กระทั่งโพรโทพลาสต์  
เซลล์พืชที่ปราศจากหนังเซลล์   มาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์  ชิ้นส่วนของพืช
ที่นำมาเลี้ยงเหล่านี้จะเจริญไปเป็นราก  ลำต้น   หรือเจริญเป็น
คลลัส  (  callus ) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเซลล์
์พาเรงคิมา กลุ่มเซลล์นี้จะเจริญต่อเนื่องจนได้แคลลัสขนาดใหญ่ที่สามารถชักนำให้เปลี่ยนไปเป็นลำต้นหรือ
รากได้  ระยะนี้อาจแบ่งเพิ่มจำนวนได้ม
กขึ้นเรื่อย ๆ  โดยแยกไปเลี้ยงในอาหารใหม่  ซึ่งเมื่อได้จำนวนต้น
ในปร
มาณที่มากพอแล้ว  ก็สามารถที่จย้ายปลูกได้
             นอกจากนี้ในปัจจุบันยงมีการทำเมล็ดเทียม  ( artificial   seed )  เพื่อใช้ในการขยายพันธุ์พืชบางชนิด
เช่น  ข้าว  
ครอท   ยาสูบ  หน่อไม้ฝรั่ง   ซึ่งารผลิตเมล็ดเทียมนี้พัฒนามาจากหลักการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
ดยการนำเซลล์ของพืชที่เจริญมาจากการเลี้ยงเนื้อเยื่อมาชักนำให้เป็นเอ็มบริโอ  ( embryo ) 
แทนเอ็มบริโอที่เกิดจากการปฏิสนธิเอ็มบริโอนี้จะนำมาห่อหุ้มด้วยสารอาหารที่ทำหน้าที่แทนเอนโดสเปิร์ม
และมีสารเคลือบอยู่ภายนอก

การวัดการเจริญเติบโตของพืช
การวัดการเจริญเติบโตของพืชสามารถวัดได้หลายวิธี  เช่น  ความสูง  ำนวนใบ   ขนาดของใบ  เส้นรอบวง
มวล ฯลฯ 
พืชมีการเจริญเติบโตช้าหรือเร็วนั้น   มีวิธีการวัดได้หลายวิธี  เช่นการวัดมวล   หรือน้ำหนักสดของพืช
เป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด
   แต่ผลที่ได้  อาจไม่บ่งถึงการเพิ่มขึ้นของชีวมวลที่แท้จริงทั้งหมด  
เพราะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเกิดจากเซลล์เก็บสะสมน้ำไว้ในปริมาณมาก ๆ  จนเซลล์เพิ่มขนาด 
ส่วนการชั่งน้ำหนักแห้งที่แท้จริง   วิธีนี้ทำให้พืชตาย    ดังนั้นพืชที่ใช้วัดจึงต้องปลูกจำนวนมาก 
แล้วสุ่มตัวอย่างมาเพียงบางส่วนเพื่อเป็นตัวแทนของพืชทั้งหมดในระยะเวลาต่าง ๆ กัน
 
นำมาเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้น  แล้วจึงสรุปได้ว่าพืชนั้นมีการเจริญเติบโต 
การวัดความสูงของพืชก็เป็นวิธีหนึ่งที่นิยมกันมากเช่นเดียวกับการวัดมวลเพราะวัดได้สะดวก 
แต่มีข้อควรระวัง  คือพืชบางชนิดมีความสูงจำกัด  แต่กิ่ง  ตา  ดอก  ผล  และขนาดของลำต้น 
สามารถเพิ่มขึ้นได้อีก   นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่น ๆ  เช่น   การนับจำนวนใบ  การนับวงปี  การวัดเส้นรอบวง
การวัดเส้นผ่านศูนย์กลาง   เป็นต้น    ซึ่งวิธีการใดจะดีที่สุดย่อมขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ต้องการวัด
           การเจริญเติบโตของพืชตั้งแต่งอกออกจากเมล็ดจนโตเต็มที่ ออกดอก ออกผล  มีลักษณะคล้ายกับ
กราฟการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตทั่ว ๆ  ไป  สามารถเขียนกราฟของการเจริญเติบโตเป็นรูปตัว 
S
(  S – shaped  curve ) 
จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่า  พืชดอกมีดอกซึ่งเป็นโครงสร้างที่เหมาะสมต่อการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
ดอกของพืชแต่ละชนิดมีโครงสร้างดอกที่แตกต่างกัน   มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย
เมื่อเกิดการปฏิสนธิซ้อนแล้วจะได้ไซโกตและเอนโดสเปิร์ม  ซึ่งไซโกตจะเจริญไปเป็นเอ็มบริโออยู่ในเมล็ด
ถ้าสภาวะแวดล้อมเหมาะสม  เมล็ดจะงอกได้และเจริญเติบโตต่อไป  เมล็ดพืชบางชนิด   แม้อยู่ในสภาวะแวดล้อม
ที่เหมาะสมก็ไม่สามารถงอกได้  ต้องมีระยะเวลาปรับสภาพภายในเมล็ดก่อนจึงจะสามารถงอกได้  
เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นแล้วสามารถวัดการเจริญเติบโตของพืช  แล้วนำมาเขียนเป็นกราฟ  ซึ่งจะได้กราฟรูปตัว 
S
เหมือนกับสิ่งมีชีวิตทั่ว ๆ  ไป